การเลี้ยงไก่ชนพม่า ผลของความชื้นที่มีต่อตัวอ่อน

ผลของความชื้นที่มีต่อตัวอ่อน มีดังนี้


1. ถ้าความชื้นในตู้ฟักมากเกินไป จะมีผลทำให้

- ลูกไก่ฟักตัวออกเร็วกว่าปกติ - ขนาดตัวของลูกไก่จะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม - สะดือไม่แห้ง และปิดไม่สนิท - ลูกไก่ไม่แข็งแรง

2. ความชื้นในตู้ฟักไข่ต่ำเกินไป

- ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง - น้ำหนักตัวน้อย - บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะติดกับเปลือกไข่ ไม่สามารถฟักออกมาได้ - ลูกไก่ที่ออกจากเปลือกไข่อาจจะไม่แข็งแรง และอาจพิการได้

4. การระบายอากาศ ภายในไข่จะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือเผาผลาญให้เป็นอาหารสำหรับตัวอ่อน ไข่ที่นำเข้าตู้ฟักในระยะแรก จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนน้อย เมื่อฟักไปนานๆ ไข่จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ไข่จะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากด้วย ดังนั้น หากตู้ฟักมีการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ตัวอ่อนขาดก๊าซออกซิเจน และตายในที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่ลูกไก่โตเต็มที่ในระยะท้ายของการฟัก ลูกไก่จะต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจมากขึ้น ถ้าการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ลูกไก่ตาย ตู้ฟักทุกชนิดจึงมีช่องระบายอากาศ หรือมีระบบระบายอากาศ ตู้ฟักที่มีพัดลมจะช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น

5. การพลิกไข่ โดยธรรมชาติ ถ้าแม่ไก่ฟักไข่ของมันเองมันจะพลิกไข่โดยเฉลี่ยวันละ 96 ครั้ง การพลิกไข่จะช่วยให้เชื้อลูกไก่ไม่ติดเปลือกสามารถเคลื่อนไหวได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพลิกไข่คือมุมที่ใช้พลิกไข่ ใช้มุม 45 องศากับแนวดิ่ง และควรพลิกไข่วันละ 6-10 ครั้ง

6. ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีผลกระทบต่อการฟักตัวของลูกไก่ คือ


6.1 การแยกตู้ฟักและตู้เกิด สำหรับตู้ฟักที่แยกตู้เกิดออกจากกัน จะทำให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และสามารถปรับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับไข่ในแต่ละช่วงเวลาได้ตามที่ต้องการ ซึ่งทำให้ไข่ที่ได้มีคุณภาพ และลูกไก่มีสุขภาพแข็งแรง

6.2 การส่องไข่ สามารถคัดเลือกไข่ที่ไม่มีเชื้อ หรือไข่เสียออกก่อนที่จะระเบิดในตู้ ไข่ที่ระเบิดจะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ อันเป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น

6.3 ความดันของอากาศ หากความดันของอากาศต่ำลง จะทำให้การฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง

6.4 การให้ไข่ของแม่ไก่ ไข่ฟองแรกๆ ของแม่ไก่จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำกว่าไข่ปกติ ดังนั้น จึงควรเก็บไข่เข้าฟัก หลังจากแม่ไก่ออกไข่มาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์

6.5 ภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ว่าร้อนหรือหนาวกว่าปกติ จะทำให้อัตราการฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง เพราะพ่อแม่พันธ์จะกินอาหารลดลง

6.6 คุณภาพภายในไข่ พบว่าไข่ที่มีสัดส่วนของไข่ขาวข้นสูง หรือมีไข่ขาวเหลวต่ำ จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวสูงกว่าไข่ที่มีไข่ขาวเหลวสูง

ปัจจัยที่สำคัญในการฟักไข่

ผู้เลี้ยงจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟักตัวของลูกไก่ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน ความชื้น และการระบายอากาศ เป็นต้น เพื่อไข่ที่ผลิตจะมีความสมบูรณ์ที่สุด

เรียบเรียงจาก

สมบุญ กาละพงศ์. "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฟักไข่ด้วยตู้ฟัก" วารสารศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา 5 เกษตรและเทคโนโลยี .ปีที่ 3 ฉบับที่ 13 (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2545) , 21 - 28.คำไข  เคล็ดลับ-วิธีการ / การฟักไข่ / เกษตร

การฟักไข่ด้วยตู้ฟัก เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการฟักไข่ ปัจจัยเหล่านี้จัดเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ไข่มีความสมบูรณ์ ผู้ประกอบการควรทำการศึกษาให้รอบคอบ และนำไปปรับใช้ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น