จำเป็นไหมกับยาโด็บไก่ชนระว่างแข่งขัน

จำเป็นไหมกับยาโด็บไก่ชนระว่างแข่งขัน ?
 

ในระหว่างการต่อสู้ของไก่ชนพม่า ได้ใช้กำลังทั้งหมดที่มีในการบิน การปล่อยเชิงและลีลาต่าง ทั้งวิ่งทั้งถอย จะไม่มีการออมแรงแบบคนเรา ที่มีผ่อนมีเบา แต่ไก่ชนใส่กันเต็มๆ พอพักยก สำคัญต้องมีเครื่องบำรุงกำลังเป็นธรรมดา สำคัญครับ ขนาดคนเราเวลาง่วง หรือ หมดแรงยังต้องพึงยาชูกำลังเลย เพราะฉนั้นไก่ชนพม่า ต้องจำเป็นเช่นกัน แต่ต้งมีปริมาณที่ลดลง การกินยา บำรุงระหว่างชน จำเป็นต้องดูอาการด้วย ถ้าไก่ชนพม่าโดนไก่ชนไทย ฮุกหนักการกินอาจจะมีปัญหาจำเป็นต้อง ช่วยตามแล้วแต่มือน้ำแต่ล่ะคนจะช่วย ฟันธงครับไก่ชน ต้องการยาโด๊บระหว่างชนครับ
การเลี้ยงไก่ชน 

การเลี้ยงไก่ชนพม่า ผลของความชื้นที่มีต่อตัวอ่อน

ผลของความชื้นที่มีต่อตัวอ่อน มีดังนี้


1. ถ้าความชื้นในตู้ฟักมากเกินไป จะมีผลทำให้

- ลูกไก่ฟักตัวออกเร็วกว่าปกติ - ขนาดตัวของลูกไก่จะโต ท้องป่อง และตัวจะนิ่ม - สะดือไม่แห้ง และปิดไม่สนิท - ลูกไก่ไม่แข็งแรง

2. ความชื้นในตู้ฟักไข่ต่ำเกินไป

- ลูกไก่จะมีขนาดตัวเล็กและแห้ง - น้ำหนักตัวน้อย - บางตัวจะแห้งอยู่ภายในไข่ และขนจะติดกับเปลือกไข่ ไม่สามารถฟักออกมาได้ - ลูกไก่ที่ออกจากเปลือกไข่อาจจะไม่แข็งแรง และอาจพิการได้

4. การระบายอากาศ ภายในไข่จะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือเผาผลาญให้เป็นอาหารสำหรับตัวอ่อน ไข่ที่นำเข้าตู้ฟักในระยะแรก จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนน้อย เมื่อฟักไปนานๆ ไข่จะต้องการปริมาณก๊าซออกซิเจนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ไข่จะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากด้วย ดังนั้น หากตู้ฟักมีการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ตัวอ่อนขาดก๊าซออกซิเจน และตายในที่สุด โดยเฉพาะช่วงที่ลูกไก่โตเต็มที่ในระยะท้ายของการฟัก ลูกไก่จะต้องใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจมากขึ้น ถ้าการระบายอากาศไม่ดี จะทำให้ลูกไก่ตาย ตู้ฟักทุกชนิดจึงมีช่องระบายอากาศ หรือมีระบบระบายอากาศ ตู้ฟักที่มีพัดลมจะช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น

5. การพลิกไข่ โดยธรรมชาติ ถ้าแม่ไก่ฟักไข่ของมันเองมันจะพลิกไข่โดยเฉลี่ยวันละ 96 ครั้ง การพลิกไข่จะช่วยให้เชื้อลูกไก่ไม่ติดเปลือกสามารถเคลื่อนไหวได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพลิกไข่คือมุมที่ใช้พลิกไข่ ใช้มุม 45 องศากับแนวดิ่ง และควรพลิกไข่วันละ 6-10 ครั้ง

6. ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าปัจจัยเหล่านี้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีผลกระทบต่อการฟักตัวของลูกไก่ คือ


6.1 การแยกตู้ฟักและตู้เกิด สำหรับตู้ฟักที่แยกตู้เกิดออกจากกัน จะทำให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และสามารถปรับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับไข่ในแต่ละช่วงเวลาได้ตามที่ต้องการ ซึ่งทำให้ไข่ที่ได้มีคุณภาพ และลูกไก่มีสุขภาพแข็งแรง

6.2 การส่องไข่ สามารถคัดเลือกไข่ที่ไม่มีเชื้อ หรือไข่เสียออกก่อนที่จะระเบิดในตู้ ไข่ที่ระเบิดจะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ อันเป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น

6.3 ความดันของอากาศ หากความดันของอากาศต่ำลง จะทำให้การฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง

6.4 การให้ไข่ของแม่ไก่ ไข่ฟองแรกๆ ของแม่ไก่จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำกว่าไข่ปกติ ดังนั้น จึงควรเก็บไข่เข้าฟัก หลังจากแม่ไก่ออกไข่มาแล้วประมาณ 2 สัปดาห์

6.5 ภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ว่าร้อนหรือหนาวกว่าปกติ จะทำให้อัตราการฟักออกเป็นตัวของลูกไก่ลดลง เพราะพ่อแม่พันธ์จะกินอาหารลดลง

6.6 คุณภาพภายในไข่ พบว่าไข่ที่มีสัดส่วนของไข่ขาวข้นสูง หรือมีไข่ขาวเหลวต่ำ จะมีอัตราการฟักออกเป็นตัวสูงกว่าไข่ที่มีไข่ขาวเหลวสูง

ปัจจัยที่สำคัญในการฟักไข่

ผู้เลี้ยงจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟักตัวของลูกไก่ เช่น อุณหภูมิ ความร้อน ความชื้น และการระบายอากาศ เป็นต้น เพื่อไข่ที่ผลิตจะมีความสมบูรณ์ที่สุด

เรียบเรียงจาก

สมบุญ กาละพงศ์. "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฟักไข่ด้วยตู้ฟัก" วารสารศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา 5 เกษตรและเทคโนโลยี .ปีที่ 3 ฉบับที่ 13 (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2545) , 21 - 28.คำไข  เคล็ดลับ-วิธีการ / การฟักไข่ / เกษตร

การฟักไข่ด้วยตู้ฟัก เป็นการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการฟักไข่ ปัจจัยเหล่านี้จัดเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ไข่มีความสมบูรณ์ ผู้ประกอบการควรทำการศึกษาให้รอบคอบ และนำไปปรับใช้ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต

ฟักไข่ด้วยตู้ฟักอย่างไรให้ได้ผลดี

ฟักไข่ด้วยตู้ฟักอย่างไรให้ได้ผลดี



การฟักไข่จะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อันประกอบด้วย

1.ความสมบูรณ์ของพันธุ์ หมายถึง ความสมบูรณ์ของไข่ที่นำมาฟัก นั่นหมายถึง ผู้ประกอบการจะต้องใส่ใจในช่วงผสมพันธ์ไก่ เพื่อให้ไข่ที่ได้มีความสมบูรณ์พอเพียง ดังนี้

1.1. ระยะเวลาที่นำตัวผู้เข้าผสม และการเก็บไข่

- ถ้าเป็นการผสมเทียม ผู้ประกอบการจะต้องเก็บไข่หลังฉีดเชื้อแล้ว 3 วัน - ถ้าเป็นการผสมแบบธรรมชาติ เก็บไข่เมื่อนำพ่อพันธ์เข้าผสมพันธุ์แล้ว 7 วัน

1.2 ฤดูกาลที่ผสมพันธุ์ ช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ถือว่าเหมาะสมที่สุด

1.3 อาหารที่ใช้เลี้ยง อาหารควรมีโภชนาการที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์

1.4 การให้ฮอร์โมนเสริมบางตัวแก่แม่พันธุ์ไก่ จะทำให้แม่ไก่ผลิตไข่ที่มีคุณภาพของเชื้อดีขึ้น

1.5 ปริมาณไข่ของแม่พันธุ์ โดยแม่พันธุ์ที่ให้ไข่มาก มักให้ไข่ที่สมบูรณ์ดี

1.6 การเลือกคู่ผสมพันธุ์ แม่พันธ์ไก่บางตัวจะไม่ยอมให้พ่อพันธุ์บางตัวผสมพันธุ์ด้วย ผู้เลี้ยงจึงต้องสับเปลี่ยนพ่อพันธุ์ไก่ตัวใหม่ให้

1.7 การผสมแบบเลือดชิด ถ้าผสมไปนานๆ จะทำให้น้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ด้อยคุณภาพลง

1.8 วิธีการผสมพันธุ์ การผสมแบบธรรมชาติจะให้ผลดีกว่าการผสมเทียม

1.9 อายุของพ่อแม่พันธุ์แม่พันธุ์ไก่ ควรมีอายุ 6 -18 เดือน จึงจะให้ไข่ที่มีคุณภาพ ส่วนพ่อพันธุ์ควรมีอายุระหว่าง 8-24 เดือน จะให้น้ำเชื้อที่มีคุณภาพดี

1.10 อัตราส่วนตัวพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์ไก่ที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 1 ต่อ 8-10 ตัว


2. อุณหภูมิหรือความร้อน ที่พอเหมาะและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ไข่ได้รับการผสม และเจริญเติบโตเป็นตัวลูกไก่ที่แข็งแรง

2.1 อุณหภูมิที่เหมาะสมในตู้ฟัก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ช่วงระหว่างวันที่ 1-18 ของการฟัก อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับตู้ฟักที่มีพัดลมระบายอากาศ อยู่ระหว่าง 37.5 องศาเซลเซียส

ระยะที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 19-21 ของการฟัก ในระยะนี้ อุณหภูมิจะลดต่ำลงเล็กน้อย อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 36-36.5 องศาเซลเซียส


2.2 ความร้อน มีความสัมพันธ์กับการฟักตัวของลูกไก่ ดังนี้


1. เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่ ถ้าอุณหภูมิการฟักถูกต้องและสม่ำเสมอ จะทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่มีสูง แต่ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ก็จะทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักตัวของลูกไก่ต่ำ


2. ระยะเวลาการฟักตัว โดยปกติ ไข่ไก่จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 21 วัน ถ้าใช้อุณหภูมิสูงกว่าปกติ แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อเชื้อลูกไก่ ก็จะทำให้ลูกไก่ฟักตัวออกมาเร็วกว่าทั่วไป แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ลูกไก่จะฟักตัวช้า


3. ขนาดของลูกไก่ที่ฟักออกมา จะสัมพันธ์กับระยะเวลาการฟักตัวของลูกไก่ด้วย คือ ถ้าฟักออกช้า เพราะอุณหภูมิต่ำ ลูกไก่ก็จะมีขนาดตัวโต ถ้าฟักตัวออกมาเร็ว เพราะใช้อุณหภูมิสูง ลูกไก่จะมีขนาดตัวที่เล็ก แต่ไม่ว่าจะขนาดตัวเล็กหรือใหญ่ ลูกไก่จะมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง


4. เปอร์เซ็นต์เชื้อลูกไก่ตาย ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป จะส่งผลทำให้เปอร์เซ็นต์เชื้อตายสูง โดยเฉพาะช่วง 2-4 วันแรกของระยะฟักตัว


5. จำนวนไก่ที่มีความผิดปกติ ถ้าอุณหภูมิไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ลูกไก่ที่ฟักออกมามีความผิดปกติของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ก็จะเป็นสาเหตุให้ลูกไก่พิการหรืออ่อนแอได้



3. ปริมาณความชื้น ที่พอเหมาะ จะช่วยให้เชื้อของลูกไก่เจริญเติบโตได้ตามปกติ และยังช่วยให้ขนของลูกไก่ไม่ติดกับเยื่อหุ้มเปลือกไข่ ในขณะที่ลูกไก่กำลังจะฟักตัวออกจากไข่


ความชื้นที่เหมาะสมภายในตู้ฟัก แบ่งออกเป็น 2 ระยะ


ระยะที่ 1 ช่วงวันที่ 1-18 วันแรกของระยะฟักตัว จะใช้ความชื้นประมาณ 45-55 เปอร์เซ็นต์


ระยะที่ 2 ช่วงวันที่ 19-21 ของระยะฟักตัว จะใช้ความชื้นประมาณ 70-85 เปอร์เซ็นต์


ความชื้นภายในตู้ฟักจะได้จากการระเหยของน้ำในถาดน้ำที่อยู่ภายในตู้ฟัก หรืออาจได้จากการฉีดพ่นน้ำเป็นละอองเข้าไปในตู้ วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นในตู้ฟักได้เช่นเดียวกัน

การเลี้ยงไก่ชน ทำตู้ฟักไข่อย่างง่ายและประหยัด


การเลี้ยงไก่ชนพม่า ทำตู้ฟักไข่อย่างง่าย
ทำแผงไม้ ให้ถาดไข่สวมลงได้พอดี















การเลี้ยงไก่ชนพม่า ทำตู้ฟักไข่อย่างง่าย
หาต่ำแหน่งกึ่งกลาง แล้วยึดคลิบล็อกท่อ PVC ด้วยตะปูเกลียว














การเลี้ยงไก่ชนพม่า ทำตู้ฟักไข่อย่างง่าย
เอาไปสวมกับท่อ















การเลี้ยงไก่ชนพม่า ทำตู้ฟักไข่อย่างง่าย

เจาะรูที่คลิบล็อกท่อ PVC  แล้วใช้ตะปูเกลียวยึดคลิปให้ติดกับท่อ ป้องกันการหมุนฟรี















การเลี้ยงไก่ชนพม่า ทำตู้ฟักไข่อย่างง่าย

การเลี้ยงไก่ชนพม่า ทำตู้ฟักไข่อย่างง่าย

เอาถาดใส่ไข่วางสวมลงไป เวลาโยกไปด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อกลับไข่
แผงไม้จะวางกับพื้น ที่ต่ำแหน่งเอียง 45 องศา พอดี










วางถาดใส่น้ำไว้ด้านล่าง ที่ผมเคยใช้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม.









ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเวป
http://www.vetech.in.th/index.php?topic=8.0


การเลี้ยงไก่ชนพม่า  ทำตู้ฟักไข่






การเลี้ยงไก่ชนพม่า"มาทำตู้พักไข่ไก่ชนกันเถอะ"

กล่องไปรษณีย์เบอร์ 6  (45x55x40 ซม.)
การเลี้ยงไก่ชนพม่า

















ปิดทุกด้านด้วยกาว เทปกาว หรือเทปผ้า

เจาะรู ช่องรับอากาศดี ที่ด้านหลัง มุมขวาด้านล่าง ขนาด 3x3 ซม.











เจาะรู ช่องระบายอากาศเสียออก ด้านหน้า มุมขวาด้านบน  ขนาด 3x3 ซม.
วันที่ 1 - 14 เปิดช่องระบายอากาศครึ่งเดียว หลังจากวันที่ 14 เปิดออกหมดเลย

อากาศร้อน จะลอยตัวขึ้นที่สูง ออกมาทางช่องระบายด้านบน และอากาศดีจะเข้ามาจากด้านล่าง








เจาะช่องประตู ตามขนาดที่ต้องการ 3 ด้าน ผมเอาด้านซ้ายมือเป็นบานพับเื่พื่อ เปิด-ปิด
แล้วเจาะช่องใส่กระจก ขนาดที่เจาะก็ขึ้นอยู่กับกระจกที่หามาได้นะครับ











เจาะรูด้านบนกล่อง ตรงกลาง เพื่อใส่สายไฟ
















ใส่หลอด ขนาด 60 หรือ 100 วัตต์











เจาะรูที่ข้างกล่องขนาดเท่าท่อ PVC ทั้งสองข้าง โดยวัดกึ่งกลาง ซ้าย ขวา แล้ววัดขึ้นมาจากพื้น 10.5 ซม.












ใส่ท่อ PVC แล้วปิดด้วยฝาปิดท่อ ดันให้แน่น ไม่ต้องทากาว












ส่วนอีกด้าน ตัดให้เหลือความยาว ยื่นออกมา ประมาณ 2 ซม.















ใส่ข้องอ 90 องศา














ต่อท่อ PVC ความยาวตามที่ต้องการ แล้วเอาข้อต่อตรงมาสวม ทำเป็นมือจับ และควรพลิกไข่วันละ 6-10 ครั้ง








การพลิกไข่ โดยธรรมชาติ ถ้าแม่ไก่ฟักไข่ของมันเองมันจะพลิกไข่โดยเฉลี่ยวันละ 96 ครั้ง การพลิกไข่จะช่วยให้เชื้อลูกไก่ไม่ติดเปลือกสามารถเคลื่อนไหวได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพลิกไข่คือมุมที่ใช้พลิกไข่ ใช้มุม 45 องศากับแนวดิ่ง และควรพลิกไข่วันละ 6-10 ครั้ง



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเวป
http://www.vetech.in.th/index.php?topic=8.0

การเลี้ยงลูกไก่ชน พม่า

การเลี้ยงลูกไก่ชนพม่า

ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6 - 10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้ ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ
อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้างและให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้มากพอควร ซึ่งอาจเพียงพอที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการแก้ไขทำได้โดยการแยกลูกไก่จากแม่ไก่มากเองภายในคอกไก่ การกกลูกไก่ คือการให้ความอบอุ่นแก่ลูกไก่โดยอาศัยความอบอุ่นจากหลอดไฟฟ้า หรือลวดร้อน หรือเตาถ่าน เป็นต้น ซึ่งก็เปรียบเสมือน บริเวณใต้ปีกไก่ของแม่ไก่ที่คอยให้ความอบอุ่นแก่ลูก ๆ นั่นเอง อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้สำหรับการกกลูกไก่ประกอบด้วย
 วัสดุรองพื้นคอก ที่นิยมใช้คือ แกลบเพราะหาได้สะดวก หรือจะเป็นพวกขี้เลื่อย หรือฟางข้าวแห้งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาวพอประมาณก็ได้
 แผงกั้นกกลูกไก่ อุปกรณ์ชนิดนี้มีไว้สำหรับจำกัดบริเวณลูกไก่ให้อยู่เฉพาะบริเวณที่มีความอบอุ่น และมีอาหาร ลูกไก่แรกเกิดนั้น จะยังไม่คุ้นเคยว่าบริเวณใดอบอุ่น ถ้าไม่มีแผงกั้นกก ลูกไก่อาจเดินหลงไปตามมุมคอกไก่ซึ่งความอบอุ่นไปไม่ถึง ย่อมส่งผลสูญเสียต่อการเลี้ยง แผงกั้นกกอาจทำจากไม้ไผ่ หรือวัสดุชนิดใดก็ได้ที่กั้นแล้วลูกไก่ลอดผ่านไม่ได้ โดยมากมักวางแผงกั้นกกเป็นรูปวงกลมจะดีกว่าวางเป็นรูปเหลี่ยม
 หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ 100 วัตต์พร้อมฝาโป๊ะ 1 ชุด สามารถใช้กกลูกไก่ได้ประมาณ 10 - 50 ตัว แต่ในหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า อาจดัดแปลงใช้เตาถ่านที่ยังมีความร้อนอยู่วางไว้บริเวณกึ่งกลางของแผงกั้นกกแล้วใช้แผ่นสังกะสีล้อมรอบเตาถ่ายนั้น ไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกไก่เดินชน หรือโดดลงไปในเตาถ่าน
 ม่านกั้นคอกไก่ มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ลมฝนผ่านเข้าในคอกในระยะการกก ม่านนั้นอาจทำจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น พวกถุงปุ๋ยเก่า ๆ หรือพวกพลาสติก ซึ่งต้องนำมาล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำเป็นม่าน
 ที่ให้น้ำและอาหาร อาจทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก หรือทำจากยางรถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์เก่า ๆ ก็ได้ แต่ขนาดของยางไม่ควรกว้างและลึกเกินไป การกกลูกไก่นั้น จะใช้เวลาประมาณ 3 - 5 สัปดาห์ ส่วนในฤดูร้อนจะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ การกกในฤดูร้อนในช่วงกลางวันไม่จำเป็นต้องเปิดกกเพราะอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว บางครั้งยังต้องเปิดม่านเพื่อให้ลมพัดผ่านระบายความร้อนภายในคอกออกไปด้วย ส่วนในเวลากลางคืน ควรเปิดกกและปิดม่านให้เรียบร้อย
 การอนุบาลลูกไก่ชน
ปัญหาการเลี้ยงไก่ แล้วลูกไก่มักจะตายมากกว่าการรอด การเลี้ยงไก่ชนนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด การอนุบาลลูกไก่โดยเฉพาะหน้าฝน เป็นช่วงที่เลี้ยงลูกไก่ยากมากเพราะลูกไก่มักจะเป็นหวัด แล้วโรคอื่นๆจะแทรกประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนทำให้เชื้อโรคทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่างๆ แพร่กระจายได้รวดเร็วที่สุด การเลี้ยงหรืออนุบาลลูกไก่มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
 ต้องให้ความอบอุ่นเพียงพอในกรณีที่เลี้ยงเอง ไม่ได้ให้แม่ของมันเลี้ยง โดยการกกไฟและอยู่ในสุ่มไม่ให้ถูกละอองฝน
 หากให้แม่มันเลี้ยงต้องขังสุ่ม ไว้ในที่ไม่โดนฝน หากให้แม่มันเลี้ยงแล้วปล่อยให้แม่ของมันพาไป ตากลมตากฝน ก็มีโอกาสเป็นหวัดได้ง่าย
 ต้องมีการทำวัคซีน ให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่กรมปศุสัตว์กำหนด คือ
 นิวคาสเซิล ทำวัคซีนนิวคาสเซิลเมื่อลูกไก่มีอายุ 3 - 7 วัน โดยการหยอดจมูกหรือตาของลูกไก่
จำนวน 2 - 3 หยด เมื่อครบ 3 เดือนทำอีกครั้งหนึ่ง
 หลอดลมอักเสบ ทำวัคซีนหลอดลมอักเสบ เมื่อลูกไก่อายุได้ 7 - 15 วัน โดยการหยอดจมูก
หรือตา จำนวน 2 - 3 หยด
 หวัดหน้าบวม ทำวัคซีนหวัดหน้าบวม เมื่อลูกไก่อายุได้ 2 เดือน โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ตัวละ 0.5 ซีซี
 อหิวาต์ ทำวัคซีนอหิวาต์ เมื่อลูกไก่อายุได้ 3 เดือน โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังตัวละ 1.0 ซีซี
 ข้อควรระวังในการทำวัคซีน

 การทำวัคซีนทุกครั้ง โดยเฉพาะเชื้อเป็น ควรทำในที่ร่มอย่าทำในที่แดดจ้า เพราะจะทำให้วัคซีนเสื่อม
 การทำวัคซีนทุกครั้ง โดยเฉพาะเชื้อเป็น ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง หากเกินกำหนดวัคซีนจะเสื่อม
 อย่าเทวัคซีนที่เหลือลงพื้นดิน เพราะจะทำให้เชื้อนั้นเจริญเติบโตได้ในที่ชื้นแฉะ กลายเป็นเชื้อโรคแพร่ระบาดต่อไป
 วัคซีนต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิไม่เกิน 5 - 8 องศาเซลเซียส มิฉะนั้นวัคซีนจะเสื่อม
 การทำวัคซีนต้องทำกับไก่ที่มีสุขภาพแข็งแรง หากทำในไก่ที่ไม่สบายเช่นเป็นหวัด ถือเป็นข้อห้ามเพราะเท่ากับไปเพิ่มเชื้อโรคในไก่ ทำให้ไก่อ่อนแอ บางครั้งถึงตายได้
 การทำวัคซีนไก่รุ่นและไก่ใหญ่ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาตั้งแต่เล็ก บางตัวจะมีการแพ้ ดังนั้นควรให้กินยาพาราเซทตามอล สักครึ่งเม็ดหลังจากทำวัคซีนโดยเฉพาะวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดที่แทงปีกหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง รวมทั้งชนิดเชื้อตายด้วย
 การให้อาหารลูกไก่ชน
การให้อาหารลูกไก่สำคัญมาก เพราะลูกไก่ต่างอายุกัน ย่อมมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน วิธีให้อาหาร คือ
 ลูกไก่อายุ 1 วัน เมื่อเอาลงมาจากรังไข่ ยังไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกไก่มีอาหารสำรองอยู่ในกระเพาะแล้ว ควรให้กินแต่น้ำสะอาด และนำกรวดทรายเม็ดเล็กๆ มาวางไว้เพื่อให้ลูกไก่หัดจิกกิน
 ลูกไก่อายุ 2 - 7 วันควรให้กินปลายข้าวผสมกับหัวอาหาร ให้ทั้งเช้าและเย็น แต่ควรให้กินครั้งละน้อยๆเท่าที่ลูกไก่กินหมดภายใน 3 - 5นาทีเท่านั้น นำน้ำสะอาจและกรวดทรายเล็กๆ มาวางไว้ให้ลูกไก่กินตลอดเวลา
 ลูกไก่อายุ 2 สัปดาห์ ช่วงนี้ลูกไก่สามารถหาอาหารอย่างอื่นกินได้บ้างแล้ว แต่ก็ควรให้ปลายข้าวผสมหัวอาหาร อาหารหยาบ เช่น รำละเอียดผสมกับปลายข้าว กากถั่ว ข้าวโพดบด ปลาป่น กระดูกป่น เปลือกหอยป่น โดยผสมตามสูตรดังนี้ กระดูกป่น 0.1 กิโลกรัม เปลือกหอยป่น 0.2 กิโลกรัม อาจผสมเกลือแกงลงไปประมาณ 1 ช้อนชา ผสม พรีมิกซ์ไวตามินลงไปด้วยสักเล็กน้อย ควรหาเศษผัก หรือหญ้าสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โปรยให้ไก่กินวันละ 1-2 ครั้ง ที่สำคัญมากที่สุดก็คือน้ำสะอาดต้องมีตลอดเวลา คอยมั่นทำความ สะอาดบริเวณที่นอนของลูกไก่ อย่าให้สกปรก หมักหมม ควรให้ลูกไก่ถูกแสงแดดบ้างทั้งเช้าและเย็น
 ลูกไก่อายุย่างเข้า 3 - 6 สัปดาห์ ลูกไก่ที่อยู่ในระยะนี้ขนจะขึ้นสมบูรณ์แล้ว และที่สำคัญจะเริ่มมีการจิกกัน อาหารผักสดยังคงให้เหมือนเดิม อาจจะเพิ่มกรวดทรายให้กินเป็นอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
 ลูกไก่อายุ 7 - 8 สัปดาห์ ไก่ในช่วงเวลานี้จะเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม ควรแยกตัวผู้ และ ตัวเมียออกจากกัน ถ้าต้องการจะนำตัวผู้ไปตอน ก็ควรทำเสียตอนนี้เลย สำหรับการเลี้ยงดูควรให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอ คอยทำความสะอาดกรง หรือโรงเรือนอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นไก่จะไม่สบายตัว
 ลูกไก่อายุ 9 - 10 สัปดาห์ ระยะนี้การให้อาหารง่ายมาก ควรให้กินข้าวเปลือกได้แล้ว อย่างน้อยวันละครั้งในตอนบ่าย ปล่อยไว้ที่ลานซึ่งเป็นพื้นดินและพื้นหญ้า ควรปล่อยให้หาอาหารเองตามธรรมชาติ ควรเสริมอาหารเมื้อเช้าและเมื้อเที่ยงให้ด้วย มื้อเช้าให้จำพวกผักและเนื้อสัตว์ ตอนเที่ยงควรเป็นข้าวสารมื้อเย็นเป็นข้าวเปลือก เมื่อย่างเข้าฤดูร้อนและฤดูฝนไก่มักขาดสารอาหารควรให้อาหารเสริม เช่น ใบกระถินโดยนำไปตากแห้ง แล้วนำไปแช่ลงในน้ำสะอาด 1 วัน เพื่อลดสารพิษ เป็นการช่วยเสริมสารอาหารแก่ไก่เป็นอย่างดี
 ลูกไก่อายุ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป เมื่อโตถึงขั้นนี้แล้วจะมีความสามารถหาอาหาร ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แต่ระยะนี้ไก่ให้ผลผลิตเพื่อสืบพันธุ์ไก่จึงมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ควร ให้ปลายข้าว รำ ข้าวเปลือก เปลือกหอย กระดองปู เพื่อให้มีการเสริมธาตุ อาหารแคลเซียมยมและฟอสฟอรัส เมื่อได้มาแล้วให้นำมาทุบให้ละเอียดใส่ภาชนะตั้งทิ้งไว้ให้ไก่กินได้ ตลอดจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของไก่
 การออกกำลังกายลูกไก่ชน
การฝึกให้ไก่ออกกำลังเป็นเทคนิคหรือวิธีหนึ่งในการเลี้ยงไก่ให้เก่ง ไก่จะเก่งได้ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง กระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อของไก่เป็นสิ่งที่สำคัญ การฝึกไก่ให้ออกกำลังเป็นการบริหารกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ ทำให้กล้ามเนื้อของไก่แน่นแข็งแรง พร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวในทุกลีลาชั้นเชิง การฝึกไก่ให้ออกกำลังสามารถทำได้ตั้งแต่ไก่ยังอายุน้อยเพื่อเป็นการวางรากฐานโครงสร้างที่ดีให้กับลูกไก่ การฝึกไก่ให้ออกกำลังนอกจากจะทำให้ไก่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของลูกไก่ได้อีกทางหนึ่งด้วย วิธีการฝึกลูกให้ออกกำลังมีหลายวิธี ดังนี้
 ติดดั้งและหมั่นปรับระดับภาชนะใส่น้ำให้สุงขึ้นตามความสูงของไก่ ปรับให้สุงประมาณระดับสายตาของไก่(ขณะที่ไก่ยืนยืดคอชูคอ) เวลาจะกินน้ำไก่จะเขย่งขา ยืดตัว ยืดอกและคอ ทำให้ไก่ได้ออกแรงยืดเส้นยืดสาย เป็นการบริหารขาและคอไปด้วยขณะกินน้ำ เมื่อไก่ยืดคอบ่อยๆ เป็นประจำ จะทำให้ไก่เคยชินจนติดเป็นนิสัย อาจส่งผลดีไปถึงชั้นเชิงของไก่ ทำให้ไก่ไม่ก้มหัวลงต่ำเวลาชน เป็นการส่งเสริมให้ไก่มีเชิงคุมบน ซึ่งเป็นเชิงดีนิยม
 หว่านอาหารลงบนพื้นดินให้ลูกไก่คุ้ยเขี่ยจิกกิน การให้อาหารไก่แบบใส่ภาชนะหรืองรางใส่อาหารแต่เพียงอย่างเดียว อาจทำให้ไก่ไม่ค่อยได้ใช้ขา ไม่ได้บริหารกล้ามเนื้อขา ผู้เลี้ยงไก่ชนควรหว่านอาหารลงบนพื้นดินบ้าง เพื่อให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยจิกหาอาหารที่ซุกซ่อยอยู่ตามพื้นดิน ทำให้ไก่ได้ออกกำลัง ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อขาของไก่แข็งแรง ไม่เป็นไก่ขาอ่อน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านสายตาให้กับลูกไก่ได้อีกทางหนึ่งด้วย
 เอาอาหารที่ไก่ชอบโยนให้ลูกไก่กินบ้าง หากทำเป็นประจำได้ก็ยิ่งดี การเลี้ยงลูกไก่ไว้ในบริเวณที่จำกัด เช่น ในเล้าตาข่ายหรือในสุ่มอาจทำให้ไก่ไม่ค่อยได้วิ่งออกกำลัง วิธีการหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ก็คือ การเอาแมลงหรืออาหารแปลกๆ ที่ไก่ชอบโยนให้ไก่กิน ไก่จะวิ่งไล่จับแมลง และวิ่งไล่แย่งอาหารกันเอง ทำให้ไก่ได้ออกกำลัง ตัวอย่างแมลงที่ไก่ชอบ ได้แก่ แมลงกระชอน ตะขาบ เขียด จิ้งจก จิ้งหรีด เป็นต้น(หากอาหารชิ้นใหญ่กว่าปากไก่จะดีมากๆ เพราะในการจิกอาหารชิ้นใหญ่ ต้องใช้เวลามาก ทำให้ลูกไก่วิ่งไล่แย่งอาหารกันได้นานขึ้น)
 ผูกอาหารที่ไก่ชอบห้อยไว้ในเล้าตาข่ายหรือในสุ่ม โดยห้อยไว้ที่ระดับความสูงพอประมาณ ให้ไก่สามารถกระโดดและบินถึงได้ เมื่อไก่เห็นอาหารห้อยอยู่บนที่สูง ไก่ก็จะกระโดดและบินขึ้นจิกอาหารครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ไก่ได้ออกกำลังแทบทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ ขา และปีก อีกทั้งยังได้ฝึกการใช้ปากจิกอาหาร การใช้สายตาเพ่งเพื่อจู่โจมเป้าหมาย เป็นการเพิ่มประสบการณ์และความชำนาญให้กับลูกไก่ได้อีกทางหนึ่ง ตัวอย่างอาหารที่ไก่ชอบกิน ได้แก่ แตง ผักกาด ตลอดจนผักใบเขียวต่างๆ กล้วย แมลงกระชอน ตะขาบ เขียด จิ้งหรีด เป็นต้น(แมลงที่ดิ้นไปมาจะเรียกความสนใจของไก่ ทำให้ไก่อยากรู้อยากลองมากขึ้น)
 ทำคอนให้ไก่เหยียบ ลูกไก่มักมีความซุกซนอยากรู้อยากเห็นอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว หากเราทำคอนหรือกิ่งไม้ไว้ในเล้าตาข่ายหรือในสุ่ม ลูกไก่จะกระโดดบินขึ้นไปเหยียบเกาะบนคอนที่สูง ทำให้ไก่มีโอกาสได้ออกกำลังตลอดเวลา ลูกไก่จะได้บริหารทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก ปีกและขา ทำให้ไก่มีกำลังขา ไม่เป็นไก่ขาอ่อน ปีกก็แข็งแรงทำให้ไก่จิกบินตีได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว

คัดลอกมาจาก ฐานข้อมูลไก่ชน 
จัดทำโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
http://202.29.80.69/kaichon/?m=view&cate=16

การฟักไข่ไก่ชนพม่า (การเลี้ยงไก่ชนพม่า)

การฟักไข่ไก่ชนพม่า (การเลี้ยงไก่ชนพม่า) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ การ
ฟักไข่โดยวิธีธรรมชาติหรือการฟักไข่โดยแม่ไก่และการฟักไข่
โดยใช้เครื่องฟัก
1. การฟักไข่โดยวิธีธรรมชาติหรือการฟักไข่โดย 
แม่ไก่เป็นการฟักไข่โดยแม่ไก่ในรังวางไข่หลังจากแม่ไก่
วางไข่ในรังวางไข่ได้จานวน 8-10 ฟองจานวนและอุณหภูมิ
ของไข่จะกระตุ้นบริเวณท้องไก่ส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาท
ไปยังต่อมใต้สมองปลดปล่อยฮอร์โมนโปรแลคตินออกมาสู่
กระแสเลือดทาให้แม่ไก่เกิดรอยฟักบนหน้าอก 3 รอยฟักคือ
หนึ่งรอยตรงกลางและสองรอยด้านข้างบริเวณดังกล่าวขน
จะร่วงมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมากบวมคล้ายฟองน้าเมื่อ
สัมผัสจะรู้สึกร้อน การฟักไข่โดยวิธีนี้คือการถ่ายเทความร้อน
จากตัวแม่ไก่ไปสู่ไข่โดยผ่านทางรอยฟัก ในขณะฟักไข่
ระยะแรกแม่ไก่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในรังวางไข่ ระยะกลาง
และระยะท้ายแม่ไก่จึงใช้เวลานอกรังวางไข่เพิ่มขึ้น ขณะฟัก
ไข่แม่ไก่จะทาการเขี่ยไข่ (กลับไข่) วันละประมาณ 96 ครั้ง
เพื่อให้ไข่ทุกฟองได้รับความอบอุ่นจากการฟักใกล้เคียงกัน
หลังจากฟักไข่ได้ 21 วันลูกไก่จะเริ่มเจาะเปลือกนาแม่ไก่
และลูกลงจากรังวางไข่ในวันที่ 22 และขังสุ่มให้อาหารและน้า
อย่างน้อย 7 วัน จึงปล่อยให้แม่และลูกหากินตามธรรมชาติ
ต่อไป
2. การฟักไข่โดยใช้เครื่องฟักหลังจากผสมพันธุ์และทาการเก็บไข่ 
ได้ 7 วัน (รวบรวมไข่) ก่อนน าไข่เข้าฟักต้องตรวจเช็คเครื่องฟักไข่ให้
อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเช่นอุณหภูมิตู้ฟัก 99.5 องศาฟาเรนไฮต์
ความชื้นสัมพัทธ์ 60% อุณหภูมิตู้เกิด 98-99.5 องศาฟาเรนไฮต์
ความชื้นสัมพัทธ์ 70% เมื่อเก็บไข่สะสมได้ 7 วันก็นามาจัดเข้า
เครื่องฟัก (Setter) ซึ่งกลับไข่ (เปิด) วันละ 6 ครั้ง (6 ครั้ง / 24
ชั่วโมง)
ส่องไข่ (candling) เมื่อนาไข่เข้าฟัก 7 วันและ 18 วันเพื่อ
น าไข่ไม่มีเชื้อและไข่เชื้อตายออกจากการฟัก การส่องไข่เมื่อนาเข้า
ฟัก 18 วันเป็นการส่องไข่ก่อนนาลงตู้เกิด (แฮ) หลังจากอยู่ใน
ตู้เกิด 3 วัน (วันที่ 21) ลูกไก่ก็เจาะเปลือกไข่ออกมาได้เก็บไว้ในตู้
เกิด 1 วันจากนั้นในวันที่ 22 นาลูกไก่ออกจากตู้เกิดติดเบอร์ขาชั่ง
น้าหนักตัวซึ่งนาไปลงในทะเบียนประวัติต่อไป